Pages

Monday, July 6, 2020

ยุบสภาคือความเสี่ยงของทุกฝ่าย - คมชัดลึก

milanokabar.blogspot.com

แต่หากนายก ฯ ตัดสินใจยุบสภาจริง ใครจะได้เปรียบ-เสียเปรียบ? คำตอบคือ เป็นความเสี่ยงของทุกฝ่าย โดยหากใช้ข้อมูลผลโพลของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้าโพล เรื่อง “การสำรวจความความนิยมทางการเมืองรอบไตรมาส ครั้งที่ 2” เป็นฐานในการวิเคราะห์ จะพบว่าผู้คนส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.06 บอกว่ายังหาคนที่เหมาะสมเป็นนายกรัฐมนตรีไม่ได้ ในขณะที่ร้อยละ 32.38 บอกว่าไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย โดยร้อยละ 45.99 ของผู้ที่บอกว่า ยังหาคนที่เหมาะสมเป็นนายก ฯ ไม่ได้ จะไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย ในขณะที่ร้อยละ 62.58 ของผู้ไม่สนับสนุนพรรคการเมืองใดเลย บอกว่ายังหาผู้ที่เหมาะสมเป็นนายก ฯ ไม่ได้ซึ่งหมายถึงทุกพรรคการเมือง และ คู่แข่งในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจากทุกพรรคการเมืองกำลังอยู่ในความเสี่ยงของความไม่แน่นอนในการตัดสินใจทางการเมืองของประชาชนหากมีการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ในวันนี้ เพราะไม่รู้ว่าผู้คนกลุ่มนี้จะสนับสนุนใครหรือพรรคการเมืองใด แต่ถ้ามองในแง่ดี ตรงนี้คือช่องว่างที่ทุกพรรคการเมืองทั้งใหม่และเก่า และทุกฝ่ายการเมืองสามารถเข้ามาช่วงชิงพื้นที่ตรงนี้ได้ ซึ่งก็คงจะขึ้นอยู่กับว่าใครจะมียุทธศาสตร์และกลยุทธ์ทางการเมืองที่ดีกว่ากัน

ความเสี่ยงทางการเมืองหากมีการยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่นั้น รวมถึงความเสี่ยงต่อการกลับมาเป็นนายก ฯ ของพลเอกประยุทธ์ด้วย ซึ่งถึงแม้ว่าพลเอกประยุทธ์จะมี พรรค สว. (สมาชิกวุฒิสภา) 250 เสียงรองรับการกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่หากในสภาผู้แทนราษฎรได้เสียงไม่ถึง250 ก็อาจจะกลายเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยหรือแย่สุดคือไม่ได้เป็นนายก ฯ ต่ออีกสมัยหากเสียงสนับสนุนในสภาผู้แทน ฯ มีน้อยมาก นอกเหนือจากนั้นแล้ว อาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการต่อต้านของประชาชนที่ไม่สนับสนุนพลเอกประยุทธ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเยาวชน (อายุ 18 – 25) และนักเรียน/นักศึกษา ที่อาจถูกกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามยั่วยุให้ลงถนนมาต่อต้านการกลับมาของพลเอกประยุทธ์ก็เป็นได้

Let's block ads! (Why?)


July 07, 2020 at 10:53AM
https://ift.tt/2BK8Q1Q

ยุบสภาคือความเสี่ยงของทุกฝ่าย - คมชัดลึก
https://ift.tt/2XKd8gI
Home To Blog

No comments:

Post a Comment